กรณีศึกษา การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการเดินท่อร้อยสายในพื้นที่อันตราย มาตรฐานของอเมริกา (National Electrical Code :NEC )
กรณีศึกษา การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการเดินท่อร้อยสายในพื้นที่อันตราย
มาตรฐานของอเมริกา (National Electrical Code :NEC )
ตามมาตรฐานการเดินท่อร้อยสายไฟของ NEC ที่กำหนดให้การเดินท่อร้อยสายไฟในพื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 อุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องเป็นชนิดทนระเบิดป้องกันการเกิดประกายไฟได้การเดินท่อร้อยสายไฟและสายเคเบิลต้องสามารถป้องกันการผ่านของก๊าซ ไอระเหยและเปลวไฟจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นผ่านทางท่อร้อยสายไฟ
รายละเอียด
1. กล่องสวิตช์ควบคุม เป็นชนิดทนการระเบิด (Explosion Proof)
2. ใช่ท่อโลหะปานกลาง (Intermediate Metal Conduit : IMC ) ที่สามารถทำเกลียวได้ซึ่งมีเกลียวมากกว่า 5 เกลียว
3. ติดตั้ง Sealing Fitting ที่ใส่สาร Compound ของท่อร้อยสายไฟก่อนเข้ากล่องสวิตช์ควบคุม ตามมาตรฐานที่กำหนดให้ติดตั้งก่อนเข้ากล่องระยะไม่เกิน 18 นิ้ว.
การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการเดินท่อร้อยสายในพื้นที่อันตราย
ตามมาตรฐานการเดินท่อร้อยสายไฟของ NEC ที่กำหนดให้การเดินท่อร้อยสายไฟในพื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 อุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องเป็นชนิดทนระเบิดป้องกันการเกิดประกายไฟได้การเดินท่อร้อยสายไฟและสายเคเบิลต้องสามารถป้องกันการผ่านของก๊าซ ไอระเหยและเปลวไฟจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นผ่านทางท่อร้อยสายไฟ
รายละเอียด
1. มอเตอร์ โคมไฟ และกล่องต่อสาย เป็นชนิดทนการระเบิด (ExplosionProof)
2. ใช่ท่อโลหะปานกลาง (Intermediate Metal Conduit : IMC ) ที่สามารถทำ เกลียวได้ซึ่งมีเกลียวมากกว่า 5 เกลียว
3. ติดตั้ง Sealing Fitting ที่ใส่สาร Compound ของท่อร้อยสายไฟก่อนเข้ากล่องสวิตช์ควบคุม ตามมาตรฐานที่กำหนดให้ติดตั้งก่อนเข้ากล่องระยะไม่เกิน 18 นิ้ว
*อ่านเพิ่มเติม กรณีศึกษา การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการเดินท่อร้อยสายไฟฟ้า
ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูล คู่มือการตรวจสอบ ติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่มีไอระเหยของสารไวไฟ โดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานฯ กระทรวงอุตสาหกรรม ทางทีมงานได้คัดลอก ตัดตอนเนื้อหาของหนังสือมาเผยแพร่กระจายความรู้ ความเข้าใจ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ลดความสูญเสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานและบุคคลรอบข้าง (ที่มา http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2015/01/25.pdf)