จำหน่ายแบตเตอรี่แห้ง, ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟทางออก โคมไฟ หลอดไฟ, อุปกรณ์กันระเบิด สนใจสั่งซื้อโทร 02-755-7383 

หลักการของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด บทที่ 2

บทที่ 2

หลักการของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด

2.1 สาเหตุที่อาจทำให้เกิดการจุดระเบิด (Ignition Source)

ในการออกแบบระบบป้องกันการจุดระเบิดภายในบริเวณที่มีการใช้หรือจัดเก็บสารไวไฟนั้น ผู้ออกแบบจะต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเกิดบรรยากาศที่มีสารไวไฟปนเปื้อนมากเพียงพอให้เกิดการจุดติดไฟได้ อย่างไรก็ตาม ยังมีกระบวนการผลิตหรืองานบำรุงรักษาที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงสภาพบรรยากาศดังกล่าวได้ ดังนั้นจึงต้องพยายามป้องกันมิให้เกิดการจุดระเบิดในสถานที่นั้น ซึ่งสิ่งที่ทำให้เกิดการจุดระเบิดที่สำคัญ มีดังนี้

         เปลวไฟ: Open Flame

         พื้นผิวที่มีความร้อนสูง: Hot Surfaces

         การอาร์ก และการสปาร์กของอุปกรณ์ไฟฟ้า: Electrical Arcs and Sparks

         การถ่ายเทประจุของไฟฟ้าสถิตระหว่างวัตถุที่มีความต่างศักย์ไฟฟ้า: ElectrostaticDischarge

         การเกิดฟ้าผ่า หรือการถ่ายเทประจุไฟฟ้าจาก บรรยากาศ ลงสู่พื้นดิน: Lightning (Atmospheric Discharge)

         การเกิดการเสียดสีของเครื่องจักรกล หรือการกระทบอย่างรุนแรงของโลหะ: Mechanical Friction or Impact Sparks

         การเกิดคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความเข้มสูง: Electromagnetic Radiation

         การเกิดคลื่นอัลตร้าโซนิกที่มีพลังงานสูง: Ultrasonic

         คลื่นพลังงานกระแทกอย่างรุนแรง: Shock Waves (Adiabatic Compression)

         การแผ่คลื่นพลังงานจากปฏิกิริยาการแยกตัวของไอออน: Ionizing Radiation

         การแผ่คลื่นแสงที่มีความเข้มสูง: Optical Radiation

         ปฏิกิริยาเคมีอย่างรุนแรงและเกิดพลังงานความร้อนสูง: Chemical Reaction

 

 

2.2 เทคนิคพื้นฐานในการป้องกันการระเบิด (Technical Principle of ExplosionProtections)

Temperature Classification

อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าแต่ละชนิดจะมีระดับอุณหภูมิสูงขึ้นไม่เท่ากันเมื่อใช้งานตามปกติถ้าการใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นๆ ทำให้เกิดความร้อนสูงจนถึงระดับอุณหภูมิที่ไอระเหยของสารไวไฟสามารถลุกติดไฟได้เอง (Auto-Ignition Temperature) อาจเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้ดังนั้นมาตรฐาน NEC และ IEC รวมทั้งมาตรฐานอื่นๆ จึงมีการแบ่งระดับอุณหภูมิสูงสุดที่อาจเกิดขึ้นบนพื้นผิวของสิ่งห่อหุ้ม (Enclosure) อุปกรณ์ไฟฟ้าในขณะใช้งานตามปกติ ซึ่งเรียกว่าTemperature Class (T Class) เพื่อให้มั่นใจได้ว่าอุปกรณ์ไฟฟ้านั้นจะไม่ทำให้เกิดความร้อนสูงจนแก๊สหรือไอระเหยของสารไวไฟที่ผสมอยู่ในบรรยากาศลุกติดไฟได้เอง ดังนั้นเมื่อทราบว่าสารไวไฟที่ใช้มีค่า Auto-ignition Temperature เท่าใด ก็จะต้องเลือกระดับ T class ของอุปกรณ์ไฟฟ้าให้มีค่าต่ำกว่าค่า Auto-Ignition Temperature ของสารไวไฟในพื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์นั้น

ตารางที่ 2.1 แสดงรหัสมาตรฐานของ Temperature Classification ในมาตรฐาน IEC และ NEC

ระดบอุณหภูมิสูงสุด

มาตรฐาน IEC

มาตรฐาน NEC

450°C

T1

T1

300°C

T2

T2

280°C

T2A

260°C

T2B

230°C

T2C

215°C

T2D

200°C

T3

T3

180°C

T3A

165°C

T3B

160°C

T3C

135°C

T4

T4

120°C

T4A

100°C

T5

T5

85°C

T6

T6

ที่มา : มาตรฐาน IEC และ NEC

ตารางที่ 2.2 แสดงตัวอย่างการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าตามรหัสมาตรฐานของ T-Classification กับสารไวไฟ

สารไวไฟ

Ignition Temperature (°C)

T-Class

IEC group

Acetaldehyde

140

T4

IIA

Acetic Acid

485

T1

IIA

Acetic Anhydride

330

T2

IIA

Acetone

540

T1

IIA

Acetylene

305

T2

IIC

Ammonia

630

T1

IIA

Benzene

220

T3

IIA

Carbon Disulfide

95

T6

IIC

Diesel

220 – 300

T3

IIA

Ethane

515

T1

IIA

Ethylalchohol

425

T2

IIA

Ethylene

425

T2

IIB

Hydrogen

560

T1

IIC

Methane

595

T1

IIA

Methanol

455

T1

IIA

Naphthalene

520

T1

IIA

Propane

470

T1

IIA

Toluene

535

T1

IIA

ที่มา : มาตรฐาน IEC

 

จากตารางที่ 2.2 ถ้าเลือกใช้อุปกรณ์ต่อสายไฟฟ้า (Terminal Box) ที่มีระดับมาตรฐานระดับที่ดีที่สุดคือ T6 อุปกรณ์นั้นอาจทดสอบมาแล้วว่าอุณหภูมิสูงสุดในการใช้งานประมาณ 80 °C ที่อุณหภูมิแวดล้อม 40 °C การเลือกฉนวนของสายไฟที่ต่ออยู่ก็จะต้องมีความเหมาะสมด้วย เช่น ฉนวนของสายไฟที่เป็น PVC จะสามารถทนความร้อนได้เพียง 70 °C เท่านั้นจึงไม่เหมาะสมที่จะนำมาใช้งาน

*อ่านเพิ่มเติม บทที่ 2 หลักการของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด

 ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูล คู่มือการตรวจสอบ ติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่มีไอระเหยของสารไวไฟ โดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานฯ กระทรวงอุตสาหกรรม ทางทีมงานได้คัดลอก ตัดตอนเนื้อหาของหนังสือมาเผยแพร่กระจายความรู้ ความเข้าใจ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ลดความสูญเสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานและบุคคลรอบข้าง (ที่มา http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2015/01/25.pdf)

Visitors: 236,373