จำหน่ายแบตเตอรี่แห้ง, ไฟฉุกเฉิน, ป้ายไฟทางออก โคมไฟ หลอดไฟ, อุปกรณ์กันระเบิด สนใจสั่งซื้อโทร 02-755-7383 

การติดตั้งไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย Overview

การติดตั้งไฟฟ้าในพื้นฐานพื้นที่อันตราย

        การทำงานในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการเกิดประกายไฟ ติดไฟ จนลุกลามไปถึงไฟไหม้ หรือเกิดการระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง เกิดความสูญเสียกับชีวิตและทรัพย์สิน อุบัติภัยจากโรงงานอุตสาหกรรมในหลายๆครั้ง พบว่าระบบไฟฟ้าเป็นสาเหตุสำคัญ หากการติดตั้ง การใช้งานระบบไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการ โดยเฉพาะโรงงานอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่การผลิต การใช้ และจัดเก็บสารเคมีที่มีไอระเหยไวไฟ ก็ยิ่งจะมีความเสี่ยงมากยิ่งขึ้น

        ทางกรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้จัดทำคู่มือในการตรวจสอบ ติดตั้ง ระบบและอุปกรณ์ไฟฟ้าในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีพื้นที่การผลิต การใช้ และจัดเก็บสารเคมีที่มีไอระเหยไวไฟ ซึ่งนำเสนอเนื้อหาของมาตรฐานการติดตั้ง การใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้า ตามหลักวิชาการ มาตรฐานของทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ อย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานนำไปเรียนรู้สร้างความเข้าใจ และปฏิบัติงานให้เกิดความปลอดภัย จากระบบไฟฟ้าในโรงงานได้ด้วยตนเอง

       ขอขอบพระคุณแหล่งที่มาของข้อมูล คู่มือการตรวจสอบ ติดตั้งระบบ และอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่มีไอระเหยของสารไวไฟ โดยสำนักเทคโนโลยีความปลอดภัย กรมโรงงานฯ กระทรวงอุตสาหกรรม ทางทีมงานได้คัดลอก ตัดตอนเนื้อหาของหนังสือมาเผยแพร่กระจายความรู้ ความเข้าใจ ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น เพื่อช่วยป้องกันอุบัติเหตุ ลดความสูญเสีย ที่อาจจะเกิดขึ้นกับหน่วยงานและบุคคลรอบข้าง (ที่มา http://php.diw.go.th/safety/wp-content/uploads/2015/01/25.pdf)

 

*อ่านเพิ่มเติม พื้นที่อันตราย

1. บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานของมาตรฐานพื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 การแบ่งประเภทพื้นที่อันตราย, มาตรฐานการจัดแบ่งพื้นที่อันตรายของยุโรปและอเมริกาเหนือ, ความหมายของพื้นที่อันตราย, ความรู้พื้นฐานการป้องกันการระเบิด, วิธีการจัดแบ่งกลุ่มแก๊ส 1-8, การแบ่งกลุ่มสารไวไฟประเภทแก๊สหรือไอระเหยตามมาตรฐาน NEC 1-10, เอกสารข้อมูลการใช้สารเคมีอย่างปลอดภัย (MSDS)

2. บทที่ 2 หลักการของอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด สาเหตุที่อาจทำให้เกิดการจุดระเบิด, เทคนิคพื้นฐานในการป้องกันการระเบิด, มาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด, การรับรองมาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด, สัญลักษณ์ของมาตรฐานอุปกรณ์ป้องกันการระเบิด

3. บทที่ 3 การปรับปรุงสภาพการทำงานในพื้นที่อันตราย การระบายอากาศ, การคำนวณการระบายอากาศของห้อง, การจัดตำแหน่งระบบระบายอากาศ, การทำงานแบบวงจรปิด, ห้องความดันอากาศสูง, แบบใช้ก๊าซเฉื่อย, การดูดจากแหล่งที่มา, รูปแบบการระบายอากาศเพื่อลดพื้นที่อันตรายจากไอระเหยของสารไวไฟ

4. บทที่ 4 เทคนิคการติดตั้งระบบไฟฟ้าในพื้นที่อันตราย การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าในพื้นที่อันตรายแบบปลอดภัยอย่างแท้จริง, การเดินสายไฟฟ้าสำหรับระบบไฟฟ้าที่มีความปลอดภัยจากการจุดระเบิดอย่างแท้จริง, การเดินสายไฟฟ้าบริเวณพื้นที่อันตราย, ตัวอย่างลักษณะอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดป้องกันการระเบิด

5. บทที่ 5 การป้องกันการจุดระเบิดจากไฟฟ้าสถิตย์ ปัจจัยที่ก่อให้เกิดการจุดติดระเบิดเนื่องจากไฟฟ้าสถิตย์, องค์ประกอบที่ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่เป็นอันตราย, การป้องกันการสปาร์ก

6. กรณีศึกษา การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าและการเดินท่อร้อยสายในพื้นที่อันตราย ตามมาตรฐานการเดินท่อร้อยสายไฟของ NEC ที่กาหนดให้การเดินท่อร้อยสายไฟในพื้นที่อันตรายประเภทที่ 1 อุปกรณ์ไฟฟ้าจะต้องเป็นชนิดทนระเบิดป้องกันการเกิดประกายไฟได้การเดินท่อร้อยสายไฟและสายเคเบิลต้องสามารถป้องกันการผ่านของก๊าซ ไอระเหยและเปลวไฟจากส่วนใดส่วนหนึ่งไปยังส่วนอื่นผ่านทางท่อร้อยสายไฟ

 

Visitors: 236,472